การดูแลสุขภาพทางไกลมีบทบาทมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปัจจุบัน การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนากลายเป็นตัวเร่งความเร็วในการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพทางไกล
เพื่อให้ทันใช้ในช่วงที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากและต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อลดการติดต่อจากโรคระบาด จากการได้ลองใช้ระบบการดูแลสุขภาพทางไกล บุคลากรทางด้านสุขภาพคงเห็นตรงกันว่าระบบการดูแลสุขภาพทางไกลมีประโยชน์อย่างมาก และสามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพของประชาชน รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค
การนำเทคโนโลยีมาผสานกับการบริการทางการแพทย์เติมช่องว่างการดูแลสุขภาพในส่วนของการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้วที่ประชากร ร้อยละ 20 มีอายุมากกว่า 60 ปี โรคที่มากับสังคมผู้สูงอายุที่สำคัญคือโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย พฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ หรือความเครียดสะสมจากวัยทำงาน ค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพในวัยสูงอายุมากขึ้น ขณะที่ความสามารถในการหารายได้ลดลง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเป็นการลดขนาดปัญหาของสังคมผู้สูงวัยอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องทำ โดยหากทุกคนไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ ไม่ดูแลสุขภาพตนเอง หรือขาดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพ จะส่งผลเสียอย่างมากต่อประเทศทั้งด้านสุขภาพประชากรและสภาวะเศรษฐกิจ
Telemedicine หรือการแพทย์ทางไกล หมายถึง การวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ป่วยจากระยะไกลโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และส่วนคำว่า Telehealth ในบางครั้งสามารถใช้แทนกันได้ แต่จะมีความหมายที่กว้างกว่า โดย Telehealth หรือบริการทางการแพทย์ทางไกล จะหมายถึงการให้บริการทางการแพทย์ทั้งหมด โดยนอกจากการวินิจฉัยและรักษาโรคแล้ว ยังรวมไปถึง การให้สุขศึกษา คำแนะนำให้การดูแลตนเอง และการให้ข้อมูลทางด้านสุขภาพผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลหรือทางระบบดิจิทัล ซึ่งการสนทนาทางวิดีโอ การใช้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ หรือการบันทึกข้อมูลทางด้านสุขภาพลงในระบบอินเทอร์เน็ต เป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีในบริการทางการแพทย์ทางไกล (Telehealth)
การใช้ Telehealth เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบตัวอย่างเช่น
โดยผู้ป่วยสามารถปรึกษาและรับการสนับสนุนทางช่องทางออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้จากที่บ้าน การเฝ้าระวัง (Survellience) และช่วยเตือน เช่น
เพื่อติดตามสภาวะสุขภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรัง และการให้บริการการแพทย์ทางไกลสำหรับสุขภาพจิต โดยให้การปรึกษาปัญหาทางใจ ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และภาวะหมดไฟ โดยการพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล
ซึ่งในอนาคต telehelath มีแนวโน้มที่จะเติบโตและพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับประเทศไทย telehealth ที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มีการนำไปใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และ Telehealth สามารถมีบทบาทที่สำคัญมากในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค หากมีการนำ Telehealth ไปใช้จริงอย่างกว้างขวาง สร้างความตระหนัก และทำให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มประชากรเป้าหมายโดยเฉพาะประชากรกลุ่มวัยทำงาน