สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของคนวัยทำงานรุ่นใหม่

Published on
11 Jan 2022
Contributors
นายแพทย์ เตชิต เตชะมโนดม
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แพทย์ประจำบ้านอาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
Subscribe to our newsletter
Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.

กลุ่มคนวัยทำงานรุ่นใหม่เป็นช่วงชีวิตที่ต้องเผชิญกับความท้าทาย ความเครียด และความล้มเหลวในการทำงาน โดยที่ปัญหาสุขภาพจิตในคนวัยทำงานรุ่นใหม่ เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และความเครียด ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน ความเป็นอยู่ที่ดี และคุณภาพชีวิต นอกจากนี้สถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ทั้งภาวะทางเศรษฐกิจ ปัญหาที่อยู่อาศัย โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ยืดเยื้อ ยังทำให้ปัญหาสุขภาพจิตของคนทำงานรุ่นใหม่แย่ลง ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมทั้งการใช้ชีวิต และการทำงานบกพร่อง ดังนั้นสุขภาพจิตมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้สามารถดำเนินชีวิต และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนวัยทำงานรุ่นใหม่
  • เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างความคาดหวังในงาน (Job demand) และอำนาจการควบคุมงาน (Job con
  • ปัญหาด้านความสามารถในการเรียนรู้
  • การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน
  • ความต้องการทางด้านจิตใจและอารมณ์
  • ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
  • การขาดการสนับสนุนจากหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา

 ก่อให้เกิดความเครียด (Stress) ในที่สุด และยังส่งผลให้เกิด ภาวะหมดไฟ (Burnout) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการในปรากฏการณ์เหตุอาชีพ (Occupational phenomenon) หมายถึง ภาวะของการอ่อนล้าทางอารมณ์ ซึ่งเป็นผลจากความเครียดจากงานที่มากเกินไปอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้สูญเสียความสนใจและแรงจูงใจในการทำงานตามมา นอกจากนี้ยังพบว่าปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นในที่ทำงานส่งผลลบอย่างมากกับสุขภาพจิต และอำนาจการควบคุมงานที่ต่ำในระยะยาว นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในคนทำงานได้

สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) ในที่ทำงาน จึงมีความสำคัญสำหรับคนวัยทำงานรุ่นใหม่ และต้องการความใส่ใจจากนายจ้าง รวมทั้งผู้กำหนดนโยบาย เช่น การจัดการสภาพแวดล้อม การเข้าถึงทรัพยากรเพื่อพัฒนาสุขภาพจิต เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงานของพนักงาน

องค์การอนามัยโลก และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ค.ศ. 2022 ออก

คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพจิตในการทำงาน โดยเน้น 3 แนวทาง คือ
  1. การป้องกัน ภาวะสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน โดยจัดการความเสี่ยงด้านจิตสังคม ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงาน ปรับวัฒนธรรม และพัฒนาความสัมพันธ์ภายในองค์กร
  2. การปกป้องและสร้างเสริม สุขภาพจิตในที่ทำงาน ผ่านการฝึกอบรมความรู้ด้านสุขภาพจิต สร้างความตระหนักรู้ เพื่อรับรู้และตอบสนองต่อสภาวะสุขภาพจิตแต่เนิ่น ๆ รวมถึงประเมินและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความจำเป็นในการหยุดงาน การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานตามความเหมาะสม
  3. การสนับสนุน พนักงานที่มีภาวะสุขภาพจิตให้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกันในการทำงาน จัดให้มีที่พักที่เหมาะสม การกลับไปทำงานที่บ้าน และสนับสนุนความคิดริเริ่มต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความเท่าเทียมในที่ทำงานและช่วยให้ผู้ที่มีภาวะสุขภาพจิตสามารถเติมเต็มศักยภาพของตนเองได้

ปัญหาสุขภาพจิตตั้งแต่ความเครียดโดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องจากงาน สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแต่ละบุคคล นำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง ภาวะหมดไฟที่สูงขึ้น การขาดงานที่เพิ่มขึ้น การเกิดโรคเรื้อรังทางจิตใจในระยะยาว และรวมถึงผลผลิตจากงานที่ลดลงและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของสถานประกอบการ ในภาพรวมระดับประชากร ประเด็นสุขภาพจิตคนวัยทำงานรุ่นใหม่ ถือเป็นประเด็นที่สำคัญทั้งของประเทศไทยและในระดับโลกที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจทุกภาคส่วน ทั้งระดับนโยบาย ระดับองค์กร และระดับตัวบุคคลทั้งนายจ้าง พนักงาน และบุคลากรทางการแพทย์ ในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต การสร้างเสริมสุขภาพจิตในที่ทำงาน และการสนับสนุนการดำเนินการต่าง ๆ ที่เอื้อต่อความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงาน

2023 Health and Well-being Thailand • เจตน์ รัตนจีนะ • Jate Ratanachina. All rights reserved.